วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ปลาเก๋าหรือปลากะรัง



  • ปลากะรังหรือปลาเก๋า

ชื่อสามัญ                  Greasy Grouper, Brown-Spotted Rockcod

ชื่อวิทยาศาสตร์         Epinephelus tauvina ( Forskal )


ขนาดลำตัว              90 เซนติเมตร


  • ลักษณะโดยทั่วไป

- ปลาเก๋าสำหรับเลี้ยงเพื่อสวยงามนั้นมีอยู่หลายพันธุ์ โดยลักษณะโดยรวมๆของแต่ละพันธุ์จะมีลำตัวที่ค่อนข้างกลมเรียวปากกว้าง ครีบมีลักษณะที่แข็งแรง 


- ลำตัวยาวป้อม แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็กสีตามตัวและครีบเป็นดอกดวง แต้ม หรือ บั้ง ฉูดฉาดหรือคล้ำลึกแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดและขนาด 


- ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้านครีบแข็ง ตอนหลังเป็นครีบอ่่อนมีลักษณะโปร่งใส


  • แหล่งอาศัยของปลาเก๋า


- ได้แก่ตามพื้นทะเล ปลาเก๋านี้นอกจากเลี้ยงเพื่อความสวยงามแล้ว นิยมนำมารับประทานด้วย  


- ปลาเก่านี้สามารถพบได้ ทั้งน้ำทะเล น้ำจืด และน้ำกร่อย


  • ขนาดของปลาเก๋า

- ปลาเมื่อโตเต็มที่แล้วจะยาวประมาณ 90 เซนติเมตร


- แต่ในบางชนิดแล้วมีขนาดความยาวไม่ีกี่เซนติเมตร จนถึง 2.5 เมตรหรือ 3 เมตร หนักถึง 400 กิโลกรัม ซึ่งเป็นชนิดหนึ่งของปลาในสกุลนี้


ปลาเก่าบางชนิดสามารถปรับเปลี่ยนเพศได้ตามวัย ซึ่งในบางชนิดเล็กจะเป็นเพศเมียแต่เมื่อโตขึ้นน้ำหนักราว 7 กิโลกรัม จะเป็นเปลี่ยนกลายเป็นเพศผู้

  • ปลากะรังจิ๋ว

ชื่อสามัญ              Lyretail basslet


ชื่อวิทยาศาสตร์     Pseudanthias squaamipinnis


ขนาดลำตัว          15  เซนติเมตร


  • ลักษณะโดยทั่วไป

- ปลาเก๋าจิ๋ว  เป็นปลาสวยงามจัดอยู่ในตระกูลปลาเก๋า หรือปลากะรังเช่นกัน แต่ขนาดเล็กกว่ากันมาก พวกมันกินแพลงตอนและปะการังอ่อนเป็นอาหาร ปลากะรังจิ๋วมีสีสันสวยงามน่าเลี้ยง มีหลายพันธุ์มากมาย เช่น Yellow spotted anthias ,Square anthias , Brazillan gramma, Harlequin basslet, Royal gramma เป็นต้น


  • สำหรับปลาเก๋าที่พบในทะเล มักมีนิสัยชอบอยู่ตามลำพังหรือเป็นคู่โดยไม่กี่ตัวตามโขดหิน แนวปะการังหรือกองหิน กองซากปรักหักพังใต้น้ำ ออกหาหินในเวลากลางคืน สามารถพบได้ตามปากแม่น้ำหรือตามป่าชายเลน 

- ปลาเก่า มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างมาก เพราะปลาเก๋าหลายชนิดนิยมใช้เพื่อบริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจ เช่น ปลากะรังปากแม่น้ำ หรือ ปลาเก๋าเสือ ซึงมีการเพาะเลี้ยงเป็นอาชีพเพื่อบริโภค ดดยนิยมเลี้ยงในกระชัง



ปลาสร้อยนกเขา




  • ปลาสร้อยนกเขา ( สร้อยปากหมาลายตาข่าย )


ชื่อสามัญ  Sweetlip chaetodonoides



ชื่อวิทยาศาสตร์  Plectorhynchus chaetodonoides Lacepede

  • ลักษณะโดยทั่วไป

- ปลาพันธุ์นี้ ลำตัวค่อนข้างแบน ทางด้านช้างครีบหลังทั้งสองข้างตอนจะติดกัน ครีบหลังตอนหน้ามีก้านครีบอยู่ตรงกลาง ครีบตอนหลังเป็นครีบอ่อนรูปโค้ง ส่วนครีบตรงทวารเป็นรูปสามเหลี่ยม หากคลี่ออกมาแล้วจะมีลักษณะคล้ายรูปพัด ลำตัวมีสีขาวลายน้ำตาล




  • ปลาสร้อยนกเขา ( ตะเภาม้าลาย )

ชื่อสามัญ    Oriental Sweetlip



ชื่อวิทยาศาสตร์  Plectorhynchus orientalis ( Bloch )



  • ลักษณะโดยทั่วไป

- ลำตัวเรียว ด้านข้างคล้ายมีดอีโต้ หน้าผากเป็นรูปโค้งและตั้งฉากลงมายังปาก ครีบหลังสองตอนติดกันตอนหน้ามีก้านครีบแข็ง ส่วนตอนหลังเป็นครีบอ่อน ครีบตรงทวารเป็นรูปไข่ หางลักษณะเป็นปลายตัด สีของปลาเมื่อยังเล็กอยู่นั้น ผิวจะมีสีดำ พอโตขึ้นลำตัวปลาจะเป็นสีขาว และสีดำของผิวปลาตอนเด็กก็จะกลาย มาเป็นลายบนตัวปลาคาดตามความยาวของปลาสลับกับพื้นที่สีขาว นี่แหละที่มาของปลาม้าลายจริงๆ



ปลาสร้อยนกเขา อาศัยอยู่ตามหน้าดิน หรือตามแนวปะการัง พบทั่วไปทั้งตามชายฝั่งทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน

วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ปลาสลิดหิน



ชื่อสามัญ  Damsels

ขนาดลำตัว  10-15 เซ็นติเมตร

  • ลักษณะโดยทั่วไป
-ปลาสลิดหินเป็นปลาในวงศ์ Pomacentridae ปลาชนิดนี้เป็นปลาขนาดเล็ก บางชนิดมีสีสันสดใส เช่นฟ้าเขียว สีเหลือง พบได้บางตัวมีลายเป็นบั้งๆ และมีอีกหลายตัวเช่นกันที่มีสีออกไปทางโทนน้ำตาลดำ ปลาสลิดชอบอาศัยอยู่เป็นฝูง บริเวณแนวปะการัง อาหารของปลาชนิดนี้ ได้แก่ แพลงก์ตอน, สาหร่าย, และสัตว์ขนาดเล็กตามพื้น ปลาสลิดหินมีอยู่ด้วยกันหลายชนิดเช่น ปลาสลิดหิน, ปลาสลิดหินใบขนุน, ปลาสลิดหินทะเลเหลืองปากยาว เป็นต้น

-ปลาสลิดหิน จะใช้แนวปะการังและดอกไม้ทะเล เป็นแหล่งอาหารที่อยู่และหลบซ่อนอำพรางตัวด้วย

ปลาสลิดหินฟ้าหางเหลือง

ชื่อสามัญ   Yellow tailed damsel

ชื่อวิทยาศาสตร์   Chrysiptera hemicyancea

  • ลักษณะโดยทั่วไป
-ลักษณะของปลาตัวนี้ก็จะเหมือนชื่อแหละค่ะ ลำตัวจะเป็นสีฟ้า บางตัวสีจะเข้ม ออกไปทางสีน้ำเงินส่วนของหางจะเป็นเหลืองสด บางตัวส่วนสีเหลืองสด บางตัวส่วนสีเหลืองจะเริ่มตั้งแต่บริเวณท้องของปลายาวตลอดไป จนถึงครีบปลาจรดปลายหางซึ่งบริเวณหางจะเป็นสีเหลืองทั้งบริเวณ


ปลาสลิดหินบั้ง

ชื่อสามัญ  Sergeant major damsel

ชื่อวิทยาศาสตร์  Abudefduf saxatilis

  • ลักษณะโดยทั่วไป
-มองปลาตัวนี้แล้วหลายๆคนคงจะนึกถึง " ม้าลาย " เพราะลายของปลานั้นจะเป็นลายขาวดำสลับกัน พื้นลำตัวจะเป็นสีขาว และมีแถบเส้นสีดำคาดบริเวณลำตัวปลา หางเป็นลักษณะแฉกหางลูกศร หางเป็นสีน้ำเงินเข้มอมดำ จุดสังเกตพิเศษของปลาพันธุ์นี้ คือจะมีรอยปานสีเหลืองอยู่บริเวณด้านบนของตัวปลาตามแนวเส้นสันหลังของปลาด้วย

ปลาในกลุ่มนี้ มักมีพฤติกรรมการสร้างอาณาเขตเฉพาะตัว หวงถิ่นอาศัย โดยเฉพาะในช่วงผสมพันธุ์และวางไข่ ส่วนใหญ่จะวางไข่เป็นแพยึดติดบนพื้นหิน หรือพื้นผิวปะการังตาย ปลาตัวผู้ทำหน้าที่เฝ้ารังจนกว่าไข่จะฟักเป็นตัว ในน่านน้ำไทยพบได้ไม่น้อยกว่า 65 ชนิด มีทั้งหมดด้วยกันกว่า 350 ชนิด ปลาสลิดหินนี้จะใช้แนวปะการังและดอกไม้ทะเล เป็นแหล่งอาหารที่อยู่และหลบซ่อนอำพรางตัวด้วย



ปลาหูช้าง




  • ปลาหูช้าง

ชื่อสามัญ               Angelfish, Round Batfish


ชื่อวิทยาศาสตร์       Platax orbicularis ( Forskal )

ขนาดลำตัว           40 - 60 เซนติเมตร

  • ลักษณะโดยทั่วไป


- ปลาหูช้าง ลำตัวแบนทางด้านข้าง สันด้านหลังมีส่วนโค้งมาก ลำตัวของปลาหูช้างจะค่อนข้างอ้วน 



- ครีบหูและครีบท้องอยู่ในแนวเดียวกัน ครีบหางปลายตัดตรง



- ลำตัวสีน้ำตาล มีแถบสีดำพาดขวาง 3 แถบ 



- ในปลาขนาดเล็ก ครีบหลัง ครีบก้น และครีบท้องค่อนข้างยาวมาก และจะหดสั้นเมื่อโตขึ้น ปลาขนาดเล็กจะมีสีส้มคล้ายใบไม้ เพื่อเป็นการอำพรางตัว



- ปลาหูช้างสามารถโตและมีความยาวได้ถึง 50 เซนติเมตร 

  • อุปนิสัยของปลาหูช้าง


- ปลาหูช้างเป็นปลาีที่ค่อนข้างรักสงบ ค่อนข้างเชื่องช้า ขี้ตกง่าย เมื่อปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมได้แล้วจะมีความทนทานสูง โตเร็ว กินอาหารได้แทบทุกชนิด ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงตามแนวปะการั

  • อาหารของปลาหูช้างที่ใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์

- ปลาสดจำพวกปลาหลังเขียวและปลาข้างเหลือง นำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆผสมวิตามินรวม โดยให้อาหาร 2 วันต่อครั้ง


  • สำหรับพันธุ์ปลาหูช้าง Round Batfish จะมีจุดสังเกตุอีกจุดหนึ่งของปลาหูช้าง ทางด้านบนส่วนหัวของปลาจะมีโหนกมองดูคล้ายๆกับหัวของช้างเช่นกัน

  • สำหรับปลาหูช้าง Teira Batfish จะมีส่วนของรูปร่างเหมือนกับหูช้างมากทีเดียว



- ปลาหูช้าง ชอบอาศัยอยู่ตามกองหินใต้น้ำริมชายฝั่งทะเลทั้งในอ่าวไทย และฝั่งมหาสมุทรอินเดีย

ปลานกขุนทอง



  • ปลานกขุนทอง

ชื่อสามัญ  Wrasses


ชื่อวิทยาศาสตร์  Labridae


ขนาดลำตัว  10-15 เซนติเมตร

  • ลักษณะโดยทั่วไป


- ปลาขุนทองเป็นปลาที่โดดเด่นตามแนวปะการัง ขนาดของปลาขุนทองตัวเต็มวัยอยู่ที่ระหว่าง 10-50 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับว่าเป็นปลาขุนทองชนิดอะไร เช่น ปลานกขุนทองหัวโหนก ( Napoleon wrasse ) เมื่อโตเต็มวัยอาจจะมีความยาวถึง 2 เมตรก็ได้


- ปลาพันธุ์นี้ไม่ค่อยอยู่รวมตัวกันเป็นฝูง นอกเสียจากว่าเป็นฤดูกาลผสมพันธุ์ื จะเห็นว่าปลานกขุนทองจับกลุ่มอยู่กันเป็นฝูง เหมือนฝูงปลาอื่นๆ เช่นกัน 


- อาหารโปรดของปลา ได้แก่ สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กตามพื้น แต่ปลานกขุนทองบางตัวก็กินปลาขนาดเล็กด้วย การดูเพศของปลาถ้ายังไม่โตเต็มวัยดูได้ยาก เพราะว่าปลาตัวเมียสามารถกลายเป็นปลาตัวผู้ที่มีสีสันสดใสได้ด้วย


  • ปลาขุนทองพยาบาล


ชื่อสามัญ  cleaner wrasse


ชื่อวิทยาศาสตร์  Labroides dimidiatus


  • ลักษณะโดยทั่วไป


- ลายของปลาขุนทองพันธุ์นี้ไม่ได้ซับซ้อนเหมือนปลาตัวอื่นๆ การสังเกตปลาพันธุ์นี้ดูได้จากเส้นแถบสีดำ จะคาดยาวจากปากของปลาจรดปลายหางของปลา สีพื้นบริเวณลำตัวจะพบได้หลากหลาย เช่น สีขาว สีน้ำเงินปนเหลือง สีขาวปนเหลือง เป็นต้น


  • ปลาขุนทองเขียวพระอินทร์


ชื่อสามัญ  Moon Wrasse


ชื่อวิทยาศาสตร์   Thalassoma lutescens


  • ลักษณะโดยทั่วไป


- ลักษณะของปลาก็สมกับชื่อเป็นอย่างมาก ปลาขุนทอง เขียวพระอินทร์ลำตัวจะเป็นสีเขียวขอบเส้นลำตัว, ลายบริเวณหน้า และหูเป็นสีชมพู

ปลาขี้ตังเบ็ด



ปลาขี้ตังเบ็ด

ชื่อสามัญ    Tangs

ชื่อวิทยาศาสตร์   Surgeonfish

ขนาดลำตัว   10-15 เซนติเมตร

  • ลักษณะโดยทั่วไป

- เป็นปลาที่รูปทรงลำตัวรูปไข่แบนกว้าง หรือค่อนแบนกว้างหรือค่อนข้างยาว  ปลาพันธุ์นี้ถึงแม้ว่าจะเป็นปลาที่กินพืชเป็นอาหารซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นปลาที่ใจดี แต่ความจริงแล้วปลาพันธุ์นี้ก็มีพิษสงรอบตัวเหมือนกัน ปลาขี้ตังเบ็ดจะมีอาวุธร้ายซึ่งเป็นหนามแข็งที่บริเวณโคนหาง เวลาที่มันต้องเผชิญหน้ากับสิ่งอันตรายมันจะว่ายน้ำหนีได้เร็วมาก พร้อมทั้งกางหนามออกมาเพื่อเป็นอาวุธเพื่อป้องกันตัวเองด้วย การหากินของมันจะออกหากินตอนกลางวัน จะอาศัยอยู่เป็นกลุ่มกันเป็นฝูง แหล่งอาหารที่สำคัญของปลาคือ อาหารตามพื้น



ปลาขี้ตังเบ็ดฟ้า

ชื่อสามัญ   powder blue tang

ชื่อวิทยาศาสตร์   Acanthurus leucosternon

  • ลักษณะโดยทั่วไป

- ลักษณะทั่วไปของปลาขี้ตังเบ็ดฟ้าบริเวณลำตัวจะมีสีฟ้าบางตัวเข้ม บางตัวอ่อน ครีบด้านบนของตัวปลาจะเป็นสีเหลือง ครีบด้านล่างจะเป็นสีขาว ริมขอบของครีบปลาจะมีสีขาวตัดเป็นแถบเล็กๆ ใบหน้าของปลาสีดำ และมีแถบสีขาวอยู่บริเวณรอบวงปากตัดกับสีดำของหน้าปลาอย่างสวยงาม หางของปลาเป็นแฉกบริเวณโคนหางมีสีเหลืองตอนกลางของหางมีสีขาวปลายหางจะเป็นสีน้ำเงินเข้มถึงดำ

ปลาขี้ตังเบ็ดหัวเรียบ

ชื่อสามัญ   Naso tang, Orange-spine

ชื่อวิทยาศาสตร์   Naso lituratus, Unicornfish

  • ลักษณะโดยทั่วไป

- ปลาพันธุ์นี้จะมีบริเวณลำตัวที่เป็นสีเหลืองอ่อนๆ ความแปลกตาหรือจุดเด่นของสายพันธุ์คงอยู่ที่บริเวณใบหน้าและส่วนหัวของปลา จุดบนสุดของหัวปลาจะมีปานสีดำขนาดไม่ใหญ่มากอยู่ทางด้านบน ไล่ระดับลงมาเหนือดวงตามีสีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นอยู่รอบดวงตา (คล้ายๆกับคนที่เขียนขอบตา) สีเหลืองนี้ยังถูกเขียนเป็นแนวเส้นไม่ใหญ่มากยาวลงบริเวณของปากปลาด้วย ปากปลาจะมีสีส้ม (เหมือนคนทาลิปสติก) หางมีลักษณะเป็นแฉกไม่ลึกมากเป็นสีขาวและมีสีดำตัดบริเวณริมเส้นของปลา ปลาขี้ตังเบ็ดหัวเรียบจัดว่าเป็นปลาที่มีหน้าตาแปลกและสวยงามอีกตัวหนึ่ง


ปลาขี้ตังเบ็ดเหลือง

ชื่อสามัญ   Yellow tang

ลักษณะโดยทั่วไป

-ปลาขี้ตังเบ็ดเหลืองคงคุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดี ลักษณะเด่นจะมีสีเหลืองสดใสทั้งตัว ยกเว้นเพียงบริเวณตาเท่านั้นที่จะมีสีดำ แม้บริเวณตาขาวก็จะมีสีเหลืองไปด้วย

  • ปลาขี้ตังเบ็ดหรือปลาแทงค์ เป้นปลาที่พบได้ในมหาสมุทรทั่วไป มีจำนวนกว่า 78 ชนิดจากทั้งหมด 5 สกุล ปลาในกลุ่มนี้หากินตามแนวปะการังและชายฝั่งที่มีแสงแดดส่องถึง กินตะไคร่น้ำ และสาหร่ายชนิดต่างๆที่ขึ้นตามโขดหิน จะรวมตัวอยู่กันเป็นฝูง ปลาในกลุ่มนี้ ส่วนมากจะเลี้ยงได้ไม่ยากนัก และปรับตัวเข้าสภาพแวดล้อมในตู้ได้ค่อนข้างดี การให้อาหารตอนเลี้ยง ควรให้อาหารที่มีส่วนผสมของใบผักสีเขียวและสาหร่ายสีเขียว หรือให้ผักกาดหอมล้างสะอาดให้ปลาตอดกินบ้างเป็นครั้งเป็นคราว