วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ปลาเก๋าหรือปลากะรัง



  • ปลากะรังหรือปลาเก๋า

ชื่อสามัญ                  Greasy Grouper, Brown-Spotted Rockcod

ชื่อวิทยาศาสตร์         Epinephelus tauvina ( Forskal )


ขนาดลำตัว              90 เซนติเมตร


  • ลักษณะโดยทั่วไป

- ปลาเก๋าสำหรับเลี้ยงเพื่อสวยงามนั้นมีอยู่หลายพันธุ์ โดยลักษณะโดยรวมๆของแต่ละพันธุ์จะมีลำตัวที่ค่อนข้างกลมเรียวปากกว้าง ครีบมีลักษณะที่แข็งแรง 


- ลำตัวยาวป้อม แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็กสีตามตัวและครีบเป็นดอกดวง แต้ม หรือ บั้ง ฉูดฉาดหรือคล้ำลึกแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดและขนาด 


- ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้านครีบแข็ง ตอนหลังเป็นครีบอ่่อนมีลักษณะโปร่งใส


  • แหล่งอาศัยของปลาเก๋า


- ได้แก่ตามพื้นทะเล ปลาเก๋านี้นอกจากเลี้ยงเพื่อความสวยงามแล้ว นิยมนำมารับประทานด้วย  


- ปลาเก่านี้สามารถพบได้ ทั้งน้ำทะเล น้ำจืด และน้ำกร่อย


  • ขนาดของปลาเก๋า

- ปลาเมื่อโตเต็มที่แล้วจะยาวประมาณ 90 เซนติเมตร


- แต่ในบางชนิดแล้วมีขนาดความยาวไม่ีกี่เซนติเมตร จนถึง 2.5 เมตรหรือ 3 เมตร หนักถึง 400 กิโลกรัม ซึ่งเป็นชนิดหนึ่งของปลาในสกุลนี้


ปลาเก่าบางชนิดสามารถปรับเปลี่ยนเพศได้ตามวัย ซึ่งในบางชนิดเล็กจะเป็นเพศเมียแต่เมื่อโตขึ้นน้ำหนักราว 7 กิโลกรัม จะเป็นเปลี่ยนกลายเป็นเพศผู้

  • ปลากะรังจิ๋ว

ชื่อสามัญ              Lyretail basslet


ชื่อวิทยาศาสตร์     Pseudanthias squaamipinnis


ขนาดลำตัว          15  เซนติเมตร


  • ลักษณะโดยทั่วไป

- ปลาเก๋าจิ๋ว  เป็นปลาสวยงามจัดอยู่ในตระกูลปลาเก๋า หรือปลากะรังเช่นกัน แต่ขนาดเล็กกว่ากันมาก พวกมันกินแพลงตอนและปะการังอ่อนเป็นอาหาร ปลากะรังจิ๋วมีสีสันสวยงามน่าเลี้ยง มีหลายพันธุ์มากมาย เช่น Yellow spotted anthias ,Square anthias , Brazillan gramma, Harlequin basslet, Royal gramma เป็นต้น


  • สำหรับปลาเก๋าที่พบในทะเล มักมีนิสัยชอบอยู่ตามลำพังหรือเป็นคู่โดยไม่กี่ตัวตามโขดหิน แนวปะการังหรือกองหิน กองซากปรักหักพังใต้น้ำ ออกหาหินในเวลากลางคืน สามารถพบได้ตามปากแม่น้ำหรือตามป่าชายเลน 

- ปลาเก่า มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างมาก เพราะปลาเก๋าหลายชนิดนิยมใช้เพื่อบริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจ เช่น ปลากะรังปากแม่น้ำ หรือ ปลาเก๋าเสือ ซึงมีการเพาะเลี้ยงเป็นอาชีพเพื่อบริโภค ดดยนิยมเลี้ยงในกระชัง



ปลาสร้อยนกเขา




  • ปลาสร้อยนกเขา ( สร้อยปากหมาลายตาข่าย )


ชื่อสามัญ  Sweetlip chaetodonoides



ชื่อวิทยาศาสตร์  Plectorhynchus chaetodonoides Lacepede

  • ลักษณะโดยทั่วไป

- ปลาพันธุ์นี้ ลำตัวค่อนข้างแบน ทางด้านช้างครีบหลังทั้งสองข้างตอนจะติดกัน ครีบหลังตอนหน้ามีก้านครีบอยู่ตรงกลาง ครีบตอนหลังเป็นครีบอ่อนรูปโค้ง ส่วนครีบตรงทวารเป็นรูปสามเหลี่ยม หากคลี่ออกมาแล้วจะมีลักษณะคล้ายรูปพัด ลำตัวมีสีขาวลายน้ำตาล




  • ปลาสร้อยนกเขา ( ตะเภาม้าลาย )

ชื่อสามัญ    Oriental Sweetlip



ชื่อวิทยาศาสตร์  Plectorhynchus orientalis ( Bloch )



  • ลักษณะโดยทั่วไป

- ลำตัวเรียว ด้านข้างคล้ายมีดอีโต้ หน้าผากเป็นรูปโค้งและตั้งฉากลงมายังปาก ครีบหลังสองตอนติดกันตอนหน้ามีก้านครีบแข็ง ส่วนตอนหลังเป็นครีบอ่อน ครีบตรงทวารเป็นรูปไข่ หางลักษณะเป็นปลายตัด สีของปลาเมื่อยังเล็กอยู่นั้น ผิวจะมีสีดำ พอโตขึ้นลำตัวปลาจะเป็นสีขาว และสีดำของผิวปลาตอนเด็กก็จะกลาย มาเป็นลายบนตัวปลาคาดตามความยาวของปลาสลับกับพื้นที่สีขาว นี่แหละที่มาของปลาม้าลายจริงๆ



ปลาสร้อยนกเขา อาศัยอยู่ตามหน้าดิน หรือตามแนวปะการัง พบทั่วไปทั้งตามชายฝั่งทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน

วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ปลาสลิดหิน



ชื่อสามัญ  Damsels

ขนาดลำตัว  10-15 เซ็นติเมตร

  • ลักษณะโดยทั่วไป
-ปลาสลิดหินเป็นปลาในวงศ์ Pomacentridae ปลาชนิดนี้เป็นปลาขนาดเล็ก บางชนิดมีสีสันสดใส เช่นฟ้าเขียว สีเหลือง พบได้บางตัวมีลายเป็นบั้งๆ และมีอีกหลายตัวเช่นกันที่มีสีออกไปทางโทนน้ำตาลดำ ปลาสลิดชอบอาศัยอยู่เป็นฝูง บริเวณแนวปะการัง อาหารของปลาชนิดนี้ ได้แก่ แพลงก์ตอน, สาหร่าย, และสัตว์ขนาดเล็กตามพื้น ปลาสลิดหินมีอยู่ด้วยกันหลายชนิดเช่น ปลาสลิดหิน, ปลาสลิดหินใบขนุน, ปลาสลิดหินทะเลเหลืองปากยาว เป็นต้น

-ปลาสลิดหิน จะใช้แนวปะการังและดอกไม้ทะเล เป็นแหล่งอาหารที่อยู่และหลบซ่อนอำพรางตัวด้วย

ปลาสลิดหินฟ้าหางเหลือง

ชื่อสามัญ   Yellow tailed damsel

ชื่อวิทยาศาสตร์   Chrysiptera hemicyancea

  • ลักษณะโดยทั่วไป
-ลักษณะของปลาตัวนี้ก็จะเหมือนชื่อแหละค่ะ ลำตัวจะเป็นสีฟ้า บางตัวสีจะเข้ม ออกไปทางสีน้ำเงินส่วนของหางจะเป็นเหลืองสด บางตัวส่วนสีเหลืองสด บางตัวส่วนสีเหลืองจะเริ่มตั้งแต่บริเวณท้องของปลายาวตลอดไป จนถึงครีบปลาจรดปลายหางซึ่งบริเวณหางจะเป็นสีเหลืองทั้งบริเวณ


ปลาสลิดหินบั้ง

ชื่อสามัญ  Sergeant major damsel

ชื่อวิทยาศาสตร์  Abudefduf saxatilis

  • ลักษณะโดยทั่วไป
-มองปลาตัวนี้แล้วหลายๆคนคงจะนึกถึง " ม้าลาย " เพราะลายของปลานั้นจะเป็นลายขาวดำสลับกัน พื้นลำตัวจะเป็นสีขาว และมีแถบเส้นสีดำคาดบริเวณลำตัวปลา หางเป็นลักษณะแฉกหางลูกศร หางเป็นสีน้ำเงินเข้มอมดำ จุดสังเกตพิเศษของปลาพันธุ์นี้ คือจะมีรอยปานสีเหลืองอยู่บริเวณด้านบนของตัวปลาตามแนวเส้นสันหลังของปลาด้วย

ปลาในกลุ่มนี้ มักมีพฤติกรรมการสร้างอาณาเขตเฉพาะตัว หวงถิ่นอาศัย โดยเฉพาะในช่วงผสมพันธุ์และวางไข่ ส่วนใหญ่จะวางไข่เป็นแพยึดติดบนพื้นหิน หรือพื้นผิวปะการังตาย ปลาตัวผู้ทำหน้าที่เฝ้ารังจนกว่าไข่จะฟักเป็นตัว ในน่านน้ำไทยพบได้ไม่น้อยกว่า 65 ชนิด มีทั้งหมดด้วยกันกว่า 350 ชนิด ปลาสลิดหินนี้จะใช้แนวปะการังและดอกไม้ทะเล เป็นแหล่งอาหารที่อยู่และหลบซ่อนอำพรางตัวด้วย



ปลาหูช้าง




  • ปลาหูช้าง

ชื่อสามัญ               Angelfish, Round Batfish


ชื่อวิทยาศาสตร์       Platax orbicularis ( Forskal )

ขนาดลำตัว           40 - 60 เซนติเมตร

  • ลักษณะโดยทั่วไป


- ปลาหูช้าง ลำตัวแบนทางด้านข้าง สันด้านหลังมีส่วนโค้งมาก ลำตัวของปลาหูช้างจะค่อนข้างอ้วน 



- ครีบหูและครีบท้องอยู่ในแนวเดียวกัน ครีบหางปลายตัดตรง



- ลำตัวสีน้ำตาล มีแถบสีดำพาดขวาง 3 แถบ 



- ในปลาขนาดเล็ก ครีบหลัง ครีบก้น และครีบท้องค่อนข้างยาวมาก และจะหดสั้นเมื่อโตขึ้น ปลาขนาดเล็กจะมีสีส้มคล้ายใบไม้ เพื่อเป็นการอำพรางตัว



- ปลาหูช้างสามารถโตและมีความยาวได้ถึง 50 เซนติเมตร 

  • อุปนิสัยของปลาหูช้าง


- ปลาหูช้างเป็นปลาีที่ค่อนข้างรักสงบ ค่อนข้างเชื่องช้า ขี้ตกง่าย เมื่อปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมได้แล้วจะมีความทนทานสูง โตเร็ว กินอาหารได้แทบทุกชนิด ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงตามแนวปะการั

  • อาหารของปลาหูช้างที่ใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์

- ปลาสดจำพวกปลาหลังเขียวและปลาข้างเหลือง นำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆผสมวิตามินรวม โดยให้อาหาร 2 วันต่อครั้ง


  • สำหรับพันธุ์ปลาหูช้าง Round Batfish จะมีจุดสังเกตุอีกจุดหนึ่งของปลาหูช้าง ทางด้านบนส่วนหัวของปลาจะมีโหนกมองดูคล้ายๆกับหัวของช้างเช่นกัน

  • สำหรับปลาหูช้าง Teira Batfish จะมีส่วนของรูปร่างเหมือนกับหูช้างมากทีเดียว



- ปลาหูช้าง ชอบอาศัยอยู่ตามกองหินใต้น้ำริมชายฝั่งทะเลทั้งในอ่าวไทย และฝั่งมหาสมุทรอินเดีย

ปลานกขุนทอง



  • ปลานกขุนทอง

ชื่อสามัญ  Wrasses


ชื่อวิทยาศาสตร์  Labridae


ขนาดลำตัว  10-15 เซนติเมตร

  • ลักษณะโดยทั่วไป


- ปลาขุนทองเป็นปลาที่โดดเด่นตามแนวปะการัง ขนาดของปลาขุนทองตัวเต็มวัยอยู่ที่ระหว่าง 10-50 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับว่าเป็นปลาขุนทองชนิดอะไร เช่น ปลานกขุนทองหัวโหนก ( Napoleon wrasse ) เมื่อโตเต็มวัยอาจจะมีความยาวถึง 2 เมตรก็ได้


- ปลาพันธุ์นี้ไม่ค่อยอยู่รวมตัวกันเป็นฝูง นอกเสียจากว่าเป็นฤดูกาลผสมพันธุ์ื จะเห็นว่าปลานกขุนทองจับกลุ่มอยู่กันเป็นฝูง เหมือนฝูงปลาอื่นๆ เช่นกัน 


- อาหารโปรดของปลา ได้แก่ สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กตามพื้น แต่ปลานกขุนทองบางตัวก็กินปลาขนาดเล็กด้วย การดูเพศของปลาถ้ายังไม่โตเต็มวัยดูได้ยาก เพราะว่าปลาตัวเมียสามารถกลายเป็นปลาตัวผู้ที่มีสีสันสดใสได้ด้วย


  • ปลาขุนทองพยาบาล


ชื่อสามัญ  cleaner wrasse


ชื่อวิทยาศาสตร์  Labroides dimidiatus


  • ลักษณะโดยทั่วไป


- ลายของปลาขุนทองพันธุ์นี้ไม่ได้ซับซ้อนเหมือนปลาตัวอื่นๆ การสังเกตปลาพันธุ์นี้ดูได้จากเส้นแถบสีดำ จะคาดยาวจากปากของปลาจรดปลายหางของปลา สีพื้นบริเวณลำตัวจะพบได้หลากหลาย เช่น สีขาว สีน้ำเงินปนเหลือง สีขาวปนเหลือง เป็นต้น


  • ปลาขุนทองเขียวพระอินทร์


ชื่อสามัญ  Moon Wrasse


ชื่อวิทยาศาสตร์   Thalassoma lutescens


  • ลักษณะโดยทั่วไป


- ลักษณะของปลาก็สมกับชื่อเป็นอย่างมาก ปลาขุนทอง เขียวพระอินทร์ลำตัวจะเป็นสีเขียวขอบเส้นลำตัว, ลายบริเวณหน้า และหูเป็นสีชมพู

ปลาขี้ตังเบ็ด



ปลาขี้ตังเบ็ด

ชื่อสามัญ    Tangs

ชื่อวิทยาศาสตร์   Surgeonfish

ขนาดลำตัว   10-15 เซนติเมตร

  • ลักษณะโดยทั่วไป

- เป็นปลาที่รูปทรงลำตัวรูปไข่แบนกว้าง หรือค่อนแบนกว้างหรือค่อนข้างยาว  ปลาพันธุ์นี้ถึงแม้ว่าจะเป็นปลาที่กินพืชเป็นอาหารซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นปลาที่ใจดี แต่ความจริงแล้วปลาพันธุ์นี้ก็มีพิษสงรอบตัวเหมือนกัน ปลาขี้ตังเบ็ดจะมีอาวุธร้ายซึ่งเป็นหนามแข็งที่บริเวณโคนหาง เวลาที่มันต้องเผชิญหน้ากับสิ่งอันตรายมันจะว่ายน้ำหนีได้เร็วมาก พร้อมทั้งกางหนามออกมาเพื่อเป็นอาวุธเพื่อป้องกันตัวเองด้วย การหากินของมันจะออกหากินตอนกลางวัน จะอาศัยอยู่เป็นกลุ่มกันเป็นฝูง แหล่งอาหารที่สำคัญของปลาคือ อาหารตามพื้น



ปลาขี้ตังเบ็ดฟ้า

ชื่อสามัญ   powder blue tang

ชื่อวิทยาศาสตร์   Acanthurus leucosternon

  • ลักษณะโดยทั่วไป

- ลักษณะทั่วไปของปลาขี้ตังเบ็ดฟ้าบริเวณลำตัวจะมีสีฟ้าบางตัวเข้ม บางตัวอ่อน ครีบด้านบนของตัวปลาจะเป็นสีเหลือง ครีบด้านล่างจะเป็นสีขาว ริมขอบของครีบปลาจะมีสีขาวตัดเป็นแถบเล็กๆ ใบหน้าของปลาสีดำ และมีแถบสีขาวอยู่บริเวณรอบวงปากตัดกับสีดำของหน้าปลาอย่างสวยงาม หางของปลาเป็นแฉกบริเวณโคนหางมีสีเหลืองตอนกลางของหางมีสีขาวปลายหางจะเป็นสีน้ำเงินเข้มถึงดำ

ปลาขี้ตังเบ็ดหัวเรียบ

ชื่อสามัญ   Naso tang, Orange-spine

ชื่อวิทยาศาสตร์   Naso lituratus, Unicornfish

  • ลักษณะโดยทั่วไป

- ปลาพันธุ์นี้จะมีบริเวณลำตัวที่เป็นสีเหลืองอ่อนๆ ความแปลกตาหรือจุดเด่นของสายพันธุ์คงอยู่ที่บริเวณใบหน้าและส่วนหัวของปลา จุดบนสุดของหัวปลาจะมีปานสีดำขนาดไม่ใหญ่มากอยู่ทางด้านบน ไล่ระดับลงมาเหนือดวงตามีสีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นอยู่รอบดวงตา (คล้ายๆกับคนที่เขียนขอบตา) สีเหลืองนี้ยังถูกเขียนเป็นแนวเส้นไม่ใหญ่มากยาวลงบริเวณของปากปลาด้วย ปากปลาจะมีสีส้ม (เหมือนคนทาลิปสติก) หางมีลักษณะเป็นแฉกไม่ลึกมากเป็นสีขาวและมีสีดำตัดบริเวณริมเส้นของปลา ปลาขี้ตังเบ็ดหัวเรียบจัดว่าเป็นปลาที่มีหน้าตาแปลกและสวยงามอีกตัวหนึ่ง


ปลาขี้ตังเบ็ดเหลือง

ชื่อสามัญ   Yellow tang

ลักษณะโดยทั่วไป

-ปลาขี้ตังเบ็ดเหลืองคงคุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดี ลักษณะเด่นจะมีสีเหลืองสดใสทั้งตัว ยกเว้นเพียงบริเวณตาเท่านั้นที่จะมีสีดำ แม้บริเวณตาขาวก็จะมีสีเหลืองไปด้วย

  • ปลาขี้ตังเบ็ดหรือปลาแทงค์ เป้นปลาที่พบได้ในมหาสมุทรทั่วไป มีจำนวนกว่า 78 ชนิดจากทั้งหมด 5 สกุล ปลาในกลุ่มนี้หากินตามแนวปะการังและชายฝั่งที่มีแสงแดดส่องถึง กินตะไคร่น้ำ และสาหร่ายชนิดต่างๆที่ขึ้นตามโขดหิน จะรวมตัวอยู่กันเป็นฝูง ปลาในกลุ่มนี้ ส่วนมากจะเลี้ยงได้ไม่ยากนัก และปรับตัวเข้าสภาพแวดล้อมในตู้ได้ค่อนข้างดี การให้อาหารตอนเลี้ยง ควรให้อาหารที่มีส่วนผสมของใบผักสีเขียวและสาหร่ายสีเขียว หรือให้ผักกาดหอมล้างสะอาดให้ปลาตอดกินบ้างเป็นครั้งเป็นคราว

ปลาสิงโต



ชื่อสามัญ  Lion Fish

ชื่อวิทยาศาสตร์  Pterois antennata

ขนาดลำตัว 8-13 ซม.

ปลาสิงโต เป็นปลามีพิษซึ่งพิษอยู่ที่ก้านครีบ ปลาสิงโตจะอยู่ในครอบครัว Scorpaenidae ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่
  1. ปลาสิงโต ( Pteroinae ) และ 
     2.ปลาหินและปลาแมงป่อง ( Scorpaeninae )
ทั้งหมดนี้จะเป็นปลามีพิษร้ายแรง โดยที่พิษจะอยู่ที่ครีบแข็งทั้งหลาย เช่น ครีบอก ครีบหลัง พิษพวกนี้มีไว้ให้ป้องกันตัวอย่างเดียว เมื่อมีอันตรายเข้าใกล้ ปลาสิงโตจะกางครีบ เป็นการข่มขู่ แต่จะไม่ค่อยออกมาโจมตี หรือเอาครีบทิ่มแทงใคร

ปลาสิงโต ชอบอำพรางตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ถ้าไปโดนพิษส่วนใหญ่จะเจ็บจี๊ดแล้วปวดขึ้นเรื่อยๆ

ข้อแนะนำ ถ้าโดนพิษปลาสิงโต ให้ทำความสะอาดแผล แล้วใช้ความร้อนเข้าสู้ พิษของปลาพวกนี้จะเป็นโปรตีน เมื่อโดนความร้อนจะสลายไป อาจจะใช้ไดร์เป่าผม น้ำอุ่น กระเป๋าน้ำร้อน หรืออะไรก็ได้ที่ร้อนๆประคบไว้ อาจจะใช้วิธีอังไฟก็ได้นะค่ะ ปรกติจะปวดประมาณ 24 ชม.แล้วจะค่อยๆ เบาลง
ลัษณะทั่วไป
  • ปลาตัวนี้จะมีลำตัวที่หนา มีครีบที่แข็งทั้งยังเป็นพิษร้าย บริเวณหัวจะมีหนามแหลม แต่บางตัวจะมีพัฒนาการที่แตกต่างกันออกไป เช่น ผิวหนังตามหัว และลำตัวเป็นแผ่นยื่นออกมากซึ่งคล้ายกันปลาพันธุ์นี้มีหนวด การว่ายน้ำค่อนข้างเชื่องช้าชอบนอนนิ่งอยู่ตามพื้น ปลาสิงโตบางตัวมีสีที่กลมกลืนกับสีของพื้นทะเลซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการอำพรางตัวเพื่อล่าอาหารอีกด้วย
ปลาสิงโต ชนิดที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่

              1.ปลาสิงโตครีบยาว หรือปลาสิงโตธรรมดา ชื่อสามัญ  Ragged-Finned lionfish  ปลาสิงโตพันธุ์นี้จะมีจุดเด่น คือ ครีบของปลาค่อนข้างยาว บริเวณลำตัวจะเป็นลายแดงสลับแถบขาว ส่วนครีบของปลามีลักษณะเป็นหนวดยาว พบได้ทั้งมีสีขาว และลายบ้างเล็กน้อย
              2.ปลาสิงโตลายขาว    ชื่อสามัญ White-lined lionfish  ปลาสิงโตลายขาวจะเหมือนกับปลาสิงโตครีบยาว บริเวณลำตัวจะมีลายสีขาวเส้นเล็กๆคาดบริเวณลำตัว หนวดนั้นส่วนใหญ่จะพบเป็นสีขาว มีข้อแตกต่างจากปลาสิงโตครีบยาว คือจะมีลายเส้นขาวเล็กๆพาดตามตัวเป็นหลัก

อาหาร ปลาสิงโตจะลอยตัวนิ่งๆพุ่งเข้าชาร์ทเพยื่อด้วยความเร็วสูง กินปลาเล็ก หรือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกกุ้ง ปู เป็นอาหาร

 ปลาสิงโต สามารถเลี้ยงรวมกับปลาอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าปากของมัน โดยสามารถเลี้ยงรวมกับ กลุ่มปลาเก๋า ปลากระพง หรือปลาสร้อยนกเขาชนิดต่างๆ แม้กระทั่งในกลุ่มปลาหิน หรือปลานกขุนทอง ปลาตาหวาน ก็ได้
ปลาที่ไม่เหมาะที่จะเลี้ยงรวมกับปลาสิงโต ได้แก่ ปลาเล็กๆ หรือปลาที่ชอบแทะเล็มปลาอื่น ได้แก่ ปลาผีเสื้อ ปลาขี้ตังเบ็ด เพราะปลาพวกนี้ชอบไล่ตอด ทำให้ปลาสิงโตเกิดความรำคาญและเป็นแผลได้

ปลาทะเล สินสมุทรลายฟ้า



ปลาสินสมุทรลายฟ้า หรือ ปลาสินสมุทรทรวงฟ้า มีชื่อเรียกของชาวท้องถิ่นจะเรียกว่า ปลาโนราห์

ชื่ออังกฤษ  Ringed Emperror Angelfish

ชื่อวิทยาศาสตร์ Pomacanthus amularis

ตระกูล Chaetontiase

แหล่งที่อยู่ พบมากในหมู่เกาะอินโด-ออสเตรเลีย ทางตะวันออกของมหาสมุทรอินเดีย รวมทั้งศรีลังกา อินเดีย และบังคลาเทศ อาศัยแนวปะการัง หินโสโกรก กองหิน ที่ระดับน้ำตื้นถึงน้ำลึก
ลักษณะ รูปร่างจะออกแป้นๆครีบหลังและครีบก้นจะยาว ครีบหลังของปลาที่โตแล้วจะมีลักษณะที่โค้งชี้ขึ้นด้านบน

สี  สีของลูกปลาไม่แตกต่างไปจากปลาตระกูล P.maculosus จะเปลี่ยนสีตามอายุว่าโตขึ้น
  • เริ่มจากเส้นบางๆที่ครีบหลังจะค่อยๆ เลือน พอโตเต็มวัยลำตัวจึงเริ่มมีริ้วๆ สีน้ำเงินเป็นโค้งๆจะขึ้นแทบสีข้าง แถบบริเวณหัวของลูกปลาก็จะหายไป
  • ลำตัวจะมีสีเหลืองอมน้ำตาลออกเขียวมะละกอแก่ๆ เป็นพื้นที่ฐานครีบอกจะมีแนวสีน้ำเงิน 5-6 แนวพาดทแยงไปทางส่วนหลังสุดของครีบหลัง มีวงแหวนสีน้ำเงินบริเวณระหว่างครีบอกกับตอนต้นของครีบหลัง
ขนาด  ประมาณ 15 นิ้ว (37 ซม.)

สภาพแวดล้อม มักอาศัยตามโขดหินตามหินตามพวกแนวปะการัง ชอบแสงสว่าง
- อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ที่ 74-83 องศาฟาเรนไฮด์ (24-29 องศาเซลเซียส) 
- ค่า ph ในน้ำประมาณ 8.3-8.6
- ความหนาแน่นของปริมาณน้ำอยู่ที่ 1.025
อุปนิสัย เลือกกิน กินอาหารได้ทุกชนิด แต่ชอบสัตว์น้ำขนาดเล็กๆ โดยเฉพาะปลาที่โตแล้วต้องให้อาหารเป็นพิเศษ

การเลี้ยงดู ควรที่จะใส่พวกแนวปะการังหินเป็นที่อยู่ ปลาสินสมุทรนี้เป็นปลาที่ชอบอยู่ตัวเดียวและหวงอาณาเขต จึงต้องระมัดระวังในการเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นๆ

ปลาการ์ตูน
















ปลาการ์ตูน เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในทะเล แหล่งที่อยู่ตามธรรมชาติจะอาศัยอยู่ตามแนวปะการัง แถบชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย นอกจากแนวปะการังแล้ว ปลาการ์ตูนยังชอบอาศัยใกล้้ๆ กับดอกไม้ทะเล ถึงแม้ว่าดอกไม้ทะเลจะมีพิษร้ายพอๆกับแมงกะพรุน แต่พวกปลาการ์ตูนก็อาสัยอยู่ได้ โดยเอาตัวไปถูกับเมือกที่ฐานดอกไม้ทะเล ซึ่งดอกไม้ทะเลจึงคิดว่าปลาการ์ตูนเหล่านี้ เป็นพวกเดียวกับมันจึงไม่ปล่อยเข็มพิษมาใส่ปลา

ชื่อสามัญ : Clown Anemone fish
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anemonefish ; Pomacentridae


  • มีขนาดลำตัว 3-5 เซ็นติเมตร

  • มีสีสันที่สดใส จะมีเอกลักษณ์ในตัวมันเองโดยทั่วไปจะประกอบด้วยสีส้ม แดง ดำ เหลือง และมีสีขาวพาดลำตัว 1-3 แถบ
  • ตัวเมียจะมีขนาดตัวใหญ่กว่าตัวผู้


ปลาการ์ตูน ที่พบมีทั้งหมด 28 ชนิดแต่ที่พบเห็นในไทยนี้มี 7 ชนิด พบทั้งอ่าวไทยและอันดามัน ได้แก่ ปลาการ์ตูนสกั้ง ปลาการ์ตูนส้มขาว ปลาการ์ตูนอินเดียแดง ปลาการ์ตูนลายปล้อง ปลาการ์ตูนอานม้า ปลาการ์ตูนมะเขือเทศ ปลาการ์ตูนแดง เป็นต้น

การเพาะพันธุ์ปลาการ์ตูน ทำได้โดย

  • เริ่มการจับคู่พ่อพันธุ์- แม่พันธุ์ ที่จะผสมพันธุ์วางไข่ โดยที่ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่และมี้องบวมเป่ง ตัวผู้ให้เลือกตัวเล็กท้องแบนเรียบ หลังจากจับคู่แล้วให้สังเกตุว่าปลาจะยอมรับกันหรือเปล่า ถ้าตัวเมียไล่กัดตัวผู้ให้รีบเปลี่ยนคู่เลย
  • เพศของปลาการ์ตูน ไม่สามารถบ่งบอกได้ชัดเจน สามารถที่จะเปลี่ยนเพศได้ โดยเพศของปลาจะเปลี่ยนตามสิ่งแวดล้อม ถ้าเปลี่ยนเป็นเพศเมียจะไม่สามารถกลับคืนเป็นเพศผู้ได้ การจับคู่ผสมพันธุ์เลยมีความซับซ้อนมาก
การวางไข่และพัฒนาการ

  • ก่อนการวางไข่ พ่อปลาจะเป็นผู้ดูแลทำความสะอาดที่ที่จะวางไข่ เมื่อใกล้วางไข่ปลาตัวเมียจะมีท้องที่บวมเป่งใหญ่กว่าปกติ และมีท่อนำไข่ยื่นออกมา 4-5 มิลลิเมตร หลังจากนั้นปลาจะเริ่มวางไข่ภายใน 1 ชม. แม่ปลาจะเลือกวางไข่กับวัสดุที่เลือกไว้ โดยวางเป็นชุดพ่อปลาก็จะปล่อยน้ำเชื้อเช้าผสม เมื่อวางไข่แล้วปลาตัวผู้จะเป็นผู้ดูแลไข่ ใช้เวลา 7-8 วันไข่ก็จะฟักเป็นตัว
  • ปลาการ์ตูนสามารถวางไข่ได้เดือนละ 2 ครั้ง ครั้งละ 500-1000 ฟอง ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ในชุดแรก จะพบว่าปลามักจะกินไข่ของตัวเองเพราะความตกใจ แต่หลังจากวางไข่ชุดหลังจะเริ่มเคยชินและไม่กินไข่ตัวเอง

  • สังเกตุว่าปลาจะฟักตัวหรือยัง สังเกตุจากตาของลูกปลาที่อยู่ในถุงไข่ จะกลายเป็นสีน้ำเงินสะท้อนแสง แสดงว่าลูกปลาพร้อมที่จะฟักเป็นตัวแล้ว ลูกปลาจะฟักช่วงหัวค่ำใช้เวลา 1-2 ชม.ในเวลามืดสนิท
การอนุบาลปลาการ์ตูน

  • หลังปลาฟักออกมาเป็นตัวให้แยกลูกปลาออกจากตู้ โดยตักลูกปลาพร้อมน้ำอย่าให้ลูกปลาโดนอากาศ นำไปอนุบาลในตู้กระจกขนาดเล็ก ให้ไรน้ำเค็ม โรติเฟอร์ และสาหร่ายขนาดเล็กเป็นอาหาร หลังจากนั้นลูกปลาจะเปลี่ยนแปลงมีสีสัน และลวดลายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
การเลี้ยงและดูแลปลาการ์ตูน

  • เมื่อลูกปลามีอายุ 3-4 สัปดาห์ สามารถย้ายลูกปลาไปสู่ตู้ขนาดใหญ่ โดยความหนาแน่นอยู่ที่ 1ตัวต่อลิตร ให้อาหารโดยเปลี่ยนมาเป็นอาหารสด เช่น เนื้อกุ้งสับหรือหอยลายสับหรืออาหารที่ผสมเอง โดยลดไรน้ำเค็มลงเรื่อยๆ ซึ่งลูกปลาจะมีขนาดประมาณ 8-10 มม.

สิ่งที่ระมัดระวังในการเลี้ยงปลาการ์ตูน คือ คุณภาพของน้ำและความหนาแน่น เช่นถ้าให้อาหารมากเกินไปจะเกิดสิ่งหมักหมม อยู่ในตู้เลี้ยง และการหนาแน่นมากเกินไปจะทำให้ปลาเป็นโรค และอาจจะตายได้ง่าย

  • การให้อาหาร ควรใ้ห้อาหารแค่วันละครั้งให้เพียงพออิ่ม อย่าให้มากเกินไป

ดังนั้น การรักษาความสะอาดและคุณภาพน้ำจึงมีความสำคัญมาก เมื่อปลาอายุได้ 4-6 เดือนควรที่จะแยกให้เป็นพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ คู่ใหม่ ปลาจะมีวัยเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุ 8-12 เดือน

ปลาผีเสื้อ



  • ปลาผีเสื้อ  ( Butterflyfish)

ชื่อวิทยาศาสตร์     Chaetodon lunulatus

วงศ์ตระกูล           Chaetodontidae พบประมาณ 120 ชนิดทั่วโลก ในเมืองไทย พบไม่ต่ำกว่า 25 ชนิด


แหล่งพบ             ในอ่าวไทย และทะเลอันดามัน

  • ลักษณะโดยทั่วไป

- ปลาผีเสื้อมีลำตัวสั้น แลนด้านข้าง ปากมีขนาดเล็กอาจยืดหดได้ ภายในปากมีฟันละเอียด


- ครีบหลังมีอันเดียว ประกอบด้วยก้านครีบแข็งอยู่ส่วนหน้า และก้านครีบอ่อนอยู่ถัดไป ครีบทวารมีก้านครีบแข็ง 3 อัน และแผ่นยื่นรับกับครีบหลัง


- ปลาผีเสื้อมีนิสัยเฉื่อยชา ว่ายน้ำหรือเคลื่อนไหวไปอย่างช้าๆ ไม่ว่องไวเหมือนปลาอื่นๆ


- เป็นปลาที่หากินเวลากลางวัน เมื่อพลบค่ำจะหลบเข้าไปหาที่หลับนอนตามซอกหิน หรือโพรงปะการัง ในเวลากลางคืนปลาผีเสื้อจะเปลี่ยนสีตัวเองให้เข้มขึ้นโดยจะเป็นแต้มสีน้ำตาล หรือแถบสีเทาก็เพื่อให้ปลอดภัยจากอันตรายและสัตรู 

- ปลาผีเสื้อ กินปะการังเป็นอาหาร จึงเป็นสัตวืที่มีความเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ของแนวปะการัง นักวิทยาศาสตร์ใช้ปลาผีเสื้อ เป็นเกณฑ์กำหนดความสมบูรณ์ของแนวปะการัง

ปลาหมอสี



ปลาหมอแรมโบลิเวีย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Microgeophagus altispinosa

ชื่อเรียกทั่วไปว่า Bolivian Butterfly Cichlid

Altispinosa  เป็นภาษาละติน แปลว่า ปลาที่มีครีบกระโดงสูง
ปลา หมอแคระ Altispinosa มีความคล้ายคลึงกับ ปลาหมอรามิเรซ หรือแรมมาก โดยแหล่งอาศัยส่วนใหญ่ ถูกค้นพบในแถบลุ่มแม่น้ำ Mamori ของประเทศโบลิเวีย จึงมีชื่อเรียกว่า " แรมโบลิเวีย "


อุปนิสัย ปลาหมอแรมโบลิเวียมีนิสัยดี สุภาพไม่ดุร้ายและก้าวร้าว นอกจากชอบแสดงคงามเก่งในการแสดงอาณาเขต แย่งชิงถิ่นอาศัย หรือแย่งจับคู่ ก็จะแสดงออกโดยการตอดกัดบ้างแต่ไม่รุนแรงเท่าไรนัก


ลักษณะ โดยทั่วไป เพศผู้ใบหน้าจะมีแถบสีดำพาดลงมาเป็นทางยาว ก้านครีบกระโดง 2-4 ก้านแรกจะมีสีดำ และปลายครีบในส่วนต่างๆ เช่น ครีบท้อง ครีบทวารและครีบหาง จะมีขลิบสีแดงเรื่อๆ ส่วนปลายครีบจะยื่นออกมาเป็นชายยาว และตรงบริเวณท้องจะมีสีแดงระเรื่อ ส่วนเพศเมียจะสีอ่อนจางกว่าตัวผู้มาก


การเลี้ยงดู สามารถเลี้ยงดูรวมกับปลาหมอแคระในสกุลเดียวกันได้ และสามารถเลี้ยงรวมกับปลาสวยงามประเภทอื่นๆรวมได้ด้วย

อาหาร เป็นปลาที่เลี้ยงง่ายกินได้เกือบทุกอย่างเป็น ไม่ว่าจะเป็นอาหารเม็ดสำเร็จรูป ไส้เดือนน้ำ หนอนแดง ไรน้ำจืดและไรทะเล ในส่วนของอาหาร ควรเป็นอาหารที่สดใหม่ และควรล้างด้วยน้ำสะอาดเพื่อป้องกันโรค และน้ำในตู้เน่าเสีย