วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ปลาเก๋าหรือปลากะรัง



  • ปลากะรังหรือปลาเก๋า

ชื่อสามัญ                  Greasy Grouper, Brown-Spotted Rockcod

ชื่อวิทยาศาสตร์         Epinephelus tauvina ( Forskal )


ขนาดลำตัว              90 เซนติเมตร


  • ลักษณะโดยทั่วไป

- ปลาเก๋าสำหรับเลี้ยงเพื่อสวยงามนั้นมีอยู่หลายพันธุ์ โดยลักษณะโดยรวมๆของแต่ละพันธุ์จะมีลำตัวที่ค่อนข้างกลมเรียวปากกว้าง ครีบมีลักษณะที่แข็งแรง 


- ลำตัวยาวป้อม แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็กสีตามตัวและครีบเป็นดอกดวง แต้ม หรือ บั้ง ฉูดฉาดหรือคล้ำลึกแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดและขนาด 


- ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้านครีบแข็ง ตอนหลังเป็นครีบอ่่อนมีลักษณะโปร่งใส


  • แหล่งอาศัยของปลาเก๋า


- ได้แก่ตามพื้นทะเล ปลาเก๋านี้นอกจากเลี้ยงเพื่อความสวยงามแล้ว นิยมนำมารับประทานด้วย  


- ปลาเก่านี้สามารถพบได้ ทั้งน้ำทะเล น้ำจืด และน้ำกร่อย


  • ขนาดของปลาเก๋า

- ปลาเมื่อโตเต็มที่แล้วจะยาวประมาณ 90 เซนติเมตร


- แต่ในบางชนิดแล้วมีขนาดความยาวไม่ีกี่เซนติเมตร จนถึง 2.5 เมตรหรือ 3 เมตร หนักถึง 400 กิโลกรัม ซึ่งเป็นชนิดหนึ่งของปลาในสกุลนี้


ปลาเก่าบางชนิดสามารถปรับเปลี่ยนเพศได้ตามวัย ซึ่งในบางชนิดเล็กจะเป็นเพศเมียแต่เมื่อโตขึ้นน้ำหนักราว 7 กิโลกรัม จะเป็นเปลี่ยนกลายเป็นเพศผู้

  • ปลากะรังจิ๋ว

ชื่อสามัญ              Lyretail basslet


ชื่อวิทยาศาสตร์     Pseudanthias squaamipinnis


ขนาดลำตัว          15  เซนติเมตร


  • ลักษณะโดยทั่วไป

- ปลาเก๋าจิ๋ว  เป็นปลาสวยงามจัดอยู่ในตระกูลปลาเก๋า หรือปลากะรังเช่นกัน แต่ขนาดเล็กกว่ากันมาก พวกมันกินแพลงตอนและปะการังอ่อนเป็นอาหาร ปลากะรังจิ๋วมีสีสันสวยงามน่าเลี้ยง มีหลายพันธุ์มากมาย เช่น Yellow spotted anthias ,Square anthias , Brazillan gramma, Harlequin basslet, Royal gramma เป็นต้น


  • สำหรับปลาเก๋าที่พบในทะเล มักมีนิสัยชอบอยู่ตามลำพังหรือเป็นคู่โดยไม่กี่ตัวตามโขดหิน แนวปะการังหรือกองหิน กองซากปรักหักพังใต้น้ำ ออกหาหินในเวลากลางคืน สามารถพบได้ตามปากแม่น้ำหรือตามป่าชายเลน 

- ปลาเก่า มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างมาก เพราะปลาเก๋าหลายชนิดนิยมใช้เพื่อบริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจ เช่น ปลากะรังปากแม่น้ำ หรือ ปลาเก๋าเสือ ซึงมีการเพาะเลี้ยงเป็นอาชีพเพื่อบริโภค ดดยนิยมเลี้ยงในกระชัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น